ปลัด ศธ. สั่ง ร.ร.เอกชน ย่านอ่อนนุช ชะลอปิดกิจการ

ปลัด ศธ. สั่ง ร.ร.เอกชน ย่านอ่อนนุช ชะลอปิดกิจการ

จากกรณีที่มีกลุ่มผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง ย่านออนนุช ได้ยืนหนังสือ ร้องเรียนต่อ นายมณฑล ภาคสุวรรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) หลังโรงเรียนแจ้งปิดกิจการ ล่วงหน้าเพียง 14 วัน จึงทำให้ผู้ปกครองได้รับผลกระทบ ไม่สามารถหาที่เรียนให้บุตรหลานได้ทัน และยังมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม 10,000-30,000 บาท ทั้ง ค่าเครื่องแบบ ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าเรียนปรับพื้นฐาน ค่าเรียนซัมเมอร์ เป็นต้น

ความคืบหน้าล่าสุด เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ นายอรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ได้มอบหมายให้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) หารือกับทางโรงเรียน เบื้องต้นขอให้ชะลอการปิดกิจการออกไปก่อน แต่หากไม่สามารถชะลอได้ ก็ให้หามาตรการในการเยียวยา เบื้องต้นต้องหาที่เรียนใหม่ให้เด็กได้มีที่เรียนทุกคน

ทั้งนี้ ปัญหาโรงเรียนเอกชนที่ประสบปัญหาสภาพคล่อง เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) ที่มีน.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธาน ครั้งล่าสุด ก็ได้มีการหารือเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว และได้มอบหมายให้ สช.ไปรวบรวมตัวเลขโรงเรียนที่มีปัญหา ก่อนนำเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการกช. พิจารณาเพื่อวางแนวทางในการช่วงเหลือต่อไป

“เรื่องนี้ทางศธ. ได้ทราบปัญหามาโดยตลอดและมีความห่วงใยโรงเรียน ซึ่งได้พยายามหามาตรการช่วยเหลือ โดยการขาดสภาพคล่อง เกิดจาก 2 สาเหตุหลัก คือ อัตราการเกิดของเด็กลดลง และสถานการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด -19 ที่ผ่านมา ทำให้โรงเรียนต้องปรับการเรียนการสอน ผ่านช่องทางออนไลน์ รวมถึงมีมาตรการให้โรงเรียนลดค่าบำรุงการศึกษาลงครึ่งหนึ่ง ทำให้โรงเรียนประสบกับปัญหา ขาดสภาพคล่องในการดำเนินการ ขณะที่ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับบุคลากรยังมีจำนวนมาก ทางศธ. มีความเป็นห่วง และได้มีการหารือ เพื่อวางมาตรการแก้ไขในภาพรวม ” ปลัดศธ.กล่าว

นายมณฑล ภาคสุวรรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.)กล่าวว่า ตนได้รายงานเรื่องนี้ให้ น.ส.ตรีนุช รัฐมนตรีว่าการศธ. รับทราบด้วยวาจาแล้ว โดยน.ส.ตรีนุช มีความห่วงใย และกำชับให้สช. ช่วยประสานหาที่เรียนให้นักเรียนทุกคน ซึ่งสช.ก็กำลังเร่งดำเนินการ

ปลัด ศธ. สั่ง ร.ร.เอกชน ย่านอ่อนนุช ชะลอปิดกิจการ

เบื้องต้น ให้ผู้ปกครองแสดงความประสงค์ว่า จะให้ลูกไปเรียนที่โรงเรียนใด ทั้งสังกัดสช. และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งถือเป็นเรื่องเร่งด่วน คาดว่าจะได้ข้อมูลครบถ้วนภายในสัปดาห์หน้า จากนั้นจะเร่งประสานไปยังโรงเรียนต่าง ๆ เพื่อให้รับเด็กเข้าเรียนต่อไป

เลขาธิการกช. กล่าวต่อว่า ในส่วนของผลกระทบอื่น ๆ ได้ประสานไปยังโรงเรียน ให้รับทราบถึงประเด็นที่จะต้องเร่งเยียวยาความเสียหายให้กับผู้ปกครอง และครู ที่ถือว่า ตกงาน ที่จะต้องได้รับเงินชดเชยตามกฎหมาย ซึ่งตรงนี้สช.จะนำมาเป็นส่วนสำคัญในการพิจารณาอนุญาตปิดกิจการต่อไป ทั้งนี้ตามกฎหมายแล้ว โรงเรียนที่ประสงค์จะปิดกิจการ จะต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 120 วัน หรือ 4 เดือน

แต่ในกรณีของโรงเรียนดังกล่าวมีจดหมายแจ้งผู้ปกครองวันที่ 16 กุมภาพันธ์ และแจ้งมาถึงสช. วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ซึ่งถือว่าล่าช้า แต่ก็ไม่ใช่เหตุที่จะไม่พิจารณาอนุญาตให้ปิดกิจการ โดยทั้งหมดจะต้องอยู่บนหลักการว่า โรงเรียนสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้หรือไม่ รวมถึงมาตรการในการเยียวยาผู้ปกครองและครู ซึ่งจะต้องดำเนินการให้เรียบร้อยก่อนปิดกิจการอย่างเป็นทางการ

“ผมได้พูดคุยกับผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งเบื้องต้น โดยให้เหตุผลว่า ทางโรงเรียนประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง และขาดทุนอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า หรือ โควิด 2019 ผู้ปกครองหลายรายมีปัญหาทางเศรษฐกิจ ค้างชำระค่าทำเนียมการศึกษาเป็นจำนวนมาก อีกทั้ง ในปีการศึกษาที่ผ่านมา มีนักเรียนสมัครเข้าเรียนใหม่ จำนวนน้อย ทำให้โรงเรียนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ซึ่งสช. ก็เข้าใจเหตุผล และพยายามประสานเพื่อหาที่เรียนใหม่ให้กับเด็ก รวมถึงเข้ามาดูแลเรื่องเงินเยียวยาครู ซึ่งถือว่าตกงานและต้องได้รับค่าชดเชยต่อไป” นายมณฑล เลขาธิการกช. กล่าว

นายมณฑล กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมามีโรงเรียนประสบปัญหาสภาพคล่อง และขอแจ้งปิดกิจการมาที่ สช. จำนวนหนึ่ง โดยในปีการศึกษา 2564 มีโรงเรียนเอกชนทั่วประเทศ ปิดกิจการไปแล้วจำนวน 45 แห่ง ส่วนปีการศึกษา 2565 อยู่ระหว่างรวบรวมจข้อมูล

โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 มีโรงเรียนที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องเป็นจำนวนมาก ทางสช.เองพยายามหามาตรการช่วยเหลือ ทั้งกองทุนส่งเสริมการศึกษานอกระบบ ที่เปิดให้โรงเรียนที่ขาดสภาพคล่อง สามารถกู้ยืมเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนได้ 3 ล้านบาท

รวมถึงยังมีเงินกู้เพื่อซ่อมแซมอาคารสถานที่ต่าง ๆ ในเดียวกัน คณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังเห็นชอบเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัว เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้เรียนและเพิ่มศักยภาพสถานศึกษาในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี ตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย และประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

ทั้งสถานศึกษาของรัฐและเอกชน ครอบคลุมไปจนถึงการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาทางเลือก โดยปรับเพิ่มแบบขั้นบันไดต่อเนื่อง 4 ปีงบประมาณ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2566-2569 ซึ่งคิดว่า ตรงนี้น่าจะเข้าไปช่วยเสริมสภาพคล่องให้โรงเรียนได้อีกช่องทางหนึ่ง

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ cheviotjutebags.com

แทงบอล

Releated